Monday, June 20, 2016

แพทย์ผงะ เคสสุดประหลาด ผ่าตัดพบ หนังยาง ในข้อมือเด็ก 4 ขวบ




           แพทย์สุดงง พบหนังยางใน ข้อมือเด็กชายวัย 4 ขวบ หลังผ่าตัดหาสาเหตุที่ข้อมือของเด็กน้อยอักเสบ คาดเคยสวมรัดข้อมือมาตั้งแต่ทารก กระทั่งเนื้อและผิวหนังเจริญเติบโตครอบหนังยางวงดังกล่าว

           วันที่ 17 มิถุนายน 2559 เว็บไซต์เดลี่เมล เปิด เผยเคสผ่าตัดชวนตะลึงจากเมืองจีน เด็กชายหลงหลง วัย 4 ขวบ เข้ารับการรักษาอาการอักเสบที่ข้อมือ ซึ่งก่อนหน้านี้แพทย์รักษาตามอาการแต่ก็ไม่หายขาดสักที กระทั่งแพทย์ตัดสินใจเอกซเรย์และผ่าตัด จึงพบว่ามีหนังยางรัดเนื้อข้อมืออยู่ภายใน

 
        รายงานระบุว่า เด็กชายหลงหลงเคยได้รับกำไลเงินจากผู้เป็นแม่เมื่อช่วงอายุ 1 ขวบ ด้วยความเชื่อว่าสามารถปกป้องภัยอันตรายได้ กระทั่งเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้เป็นย่าสังเกตเห็นว่ากำไลเงินนั้นแน่นเกินไปสำหรับเด็กชายแล้ว จึงถอดมันออก ในตอนนั้นเอง เธอก็สังเกตเห็นรอยสีแดงรอบ ๆ ข้อมือของเด็กชาย ซึ่งมีอาการบวมร่วมด้วย

 
           ย่าพาหลงหลงไปที่โรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการ โดยพวกเขาเชื่อว่ามันน่าจะเป็นอาการอักเสบธรรมดาจึงให้ยาตามปกติ แต่ปรากฏว่ารักษาเท่าไรก็ไม่หายขาดเสียที สุดท้ายครอบครัวจึงพาหลงหลงไปหาแพทย์เด็กเฉพาะทางที่โรงพยาบาลเด็กในเมือง เฉิงตูในช่วงเดือนเมษายน และแพทย์วางแผนว่าจะผ่าตัดข้อมือของหลงหลงในอีก 3 เดือนข้างหน้า
  
            กระทั่งวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา ข้อมือของเด็กชายเกิดบวมขึ้นมามากกว่าเดิมหลายเท่า คราวนี้แพทย์จึงต้องรีบผ่าตัดเด็กชายโดยด่วน และก็ต้องพบกับเรื่องสุดตะลึง เมื่อผ่าตัดข้อมือแล้วพบว่ามีหนังยางอยู่ภายใน

           แพทย์ระบุกับสื่อมวล ชนว่า หากพวกเขาไม่รีบผ่าตัดนำยางเส้นนี้ออกมา อาจเกิดอันตรายใหญ่หลวงกับเด็กชายหลงหลง ถึงขั้นที่ต้องถูกตัดข้อมือทิ้งอย่างแน่นอน โดยหลังจากผ่าตัดหนังยางออกไปแล้ว เด็กชายหลงหลงบอกกับแม่ของเขาว่า เขาเคยนำหนังยางมารัดข้อมือเล่น แต่ไม่ได้บอกเวลาที่แน่นอนว่าตั้งแต่เมื่อไร

            สำหรับสาเหตุที่ครอบ ครัวไม่ได้สังเกตเห็นร่องรอยหนังยางมาก่อน เป็นเพราะหลงหลงอาศัยอยู่กับคุณปู่คุณย่าในเมืองเล็ก ๆ โดยลำพัง ขณะที่พ่อแม่ของเด็กชายทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้เด็กน้อยต้องดูแลตัวเอง เช่น อาบน้ำและแต่งตัวเอง ตั้งแต่ยังเล็ก ผู้เป็นปู่ย่าจึงไม่ได้สังเกตเห็นความผิดปกติของหลาน

ภาพจาก daliulian
http://hilight.kapook.com/view/138446

No comments:

Post a Comment