Wednesday, September 30, 2015
ซวยเลย สาวส่งรูปเปิดเต้าให้แฟนหนุ่ม ดันส่งผิดให้ "เจ้านาย"
อูย หงายเงิบหน้าชาจนไม่รู้จะเอาหน้าไปซุกไว้ที่ไหน เมื่อสาวทำทะลึ่งส่งรูปเปิดเสื้อโชว์นมให้แฟนหนุ่ม แต่ดันกดพลาดไปส่งให้เจ้านาย แถมเจ้านายส่งข้อความตอบกลับมาด้วยสิ !!
"สวัสดี คุณคงไม่ได้ตั้งใจจะส่งนี่มาให้หรอกนะ ยังไงช่วยระวังให้มากหน่อย นี่เจ้านายนะ" แถมยังขีดเส้นใต้เน้น ๆ ตรงคำว่า "เจ้านาย" ด้วย ย้ำให้รู้ ว่านี่ไม่ใช่เพื่อนเล่นนะคะตัวเธอ
Tuesday, September 29, 2015
29 กันยายน วันกาแฟสากล ร่วมดื่มด่ำกับกาแฟแก้วโปรดด้วยกัน
วันกาแฟสากล
29 กันยายน วันแห่งการเฉลิมฉลองของคอกาแฟทั่วโลก
ร่วมดื่มด่ำกับเครื่องดื่มอันหอมกรุ่น พร้อมรับข้อเสนอสุดพิเศษจากร้านกาแฟได้เลย
กาแฟ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่สำคัญของมนุษยชาติซึ่งมีประวัติมายาวนาน ด้วยกลิ่นอันหอมกรุ่นชวนหลงใหลของเครื่องดื่มสีเข้ม ที่ช่วยปลุกยามเช้าที่แสนสดใส ทำให้ไม่แปลกเลยที่ความนิยมในการดื่มกาแฟมีแต่จะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ผิดหากจะเกิดอีเว้นท์สุดพิเศษขึ้นอย่าง วันกาแฟสากล (International Coffee Day) ให้เหล่าคอกาแฟและผู้ที่รักในการดื่มกาแฟทั่วโลก ได้มาร่วมเฉลิมฉลองกันในวันดังกล่าว
แม้วันกาแฟสากล จะไม่มีที่มาและจุดกำเนิดที่แน่ชัด แต่ในหลายประเทศทั่วโลกก็ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันกาแฟ หรือวันกาแฟแห่งชาติ มาเนิ่นนานหลายปีแล้ว ซึ่งส่วนมากมักจะตรงกับวันที่ 29 กันยายน ส่วนชื่อ "วันกาแฟสากล" นั้นได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยพิพิธภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเซาธ์เทิร์น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เพื่อจัดงานเทศกาลกาแฟนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา ขึ้นนั่นเอง
ความนิยมในการเฉลิมฉลองวันกาแฟได้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยแต่ละประเทศต่างก็มีการจัดตั้งวันกาแฟสากลไม่ตรงกัน เช่น ในประเทศจีนที่ยึดเอาวันตรุษจีนเป็นวันกาแฟสากล สวิตเซอร์แลนด์ใช้วันที่ 28 กันยายน ศรีลังกาใช้วันที่ 1 ตุลาคม และอีกหลายประเทศอย่าง ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ ฮังการี มาเลเซีย นอร์เวย์ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน รวมถึงในประเทศไทย ได้ถือเอาวันที่ 29 กันยายน เป็นวันกาแฟสากล
กาแฟ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่สำคัญของมนุษยชาติซึ่งมีประวัติมายาวนาน ด้วยกลิ่นอันหอมกรุ่นชวนหลงใหลของเครื่องดื่มสีเข้ม ที่ช่วยปลุกยามเช้าที่แสนสดใส ทำให้ไม่แปลกเลยที่ความนิยมในการดื่มกาแฟมีแต่จะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ผิดหากจะเกิดอีเว้นท์สุดพิเศษขึ้นอย่าง วันกาแฟสากล (International Coffee Day) ให้เหล่าคอกาแฟและผู้ที่รักในการดื่มกาแฟทั่วโลก ได้มาร่วมเฉลิมฉลองกันในวันดังกล่าว
แม้วันกาแฟสากล จะไม่มีที่มาและจุดกำเนิดที่แน่ชัด แต่ในหลายประเทศทั่วโลกก็ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันกาแฟ หรือวันกาแฟแห่งชาติ มาเนิ่นนานหลายปีแล้ว ซึ่งส่วนมากมักจะตรงกับวันที่ 29 กันยายน ส่วนชื่อ "วันกาแฟสากล" นั้นได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยพิพิธภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเซาธ์เทิร์น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เพื่อจัดงานเทศกาลกาแฟนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา ขึ้นนั่นเอง
ความนิยมในการเฉลิมฉลองวันกาแฟได้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยแต่ละประเทศต่างก็มีการจัดตั้งวันกาแฟสากลไม่ตรงกัน เช่น ในประเทศจีนที่ยึดเอาวันตรุษจีนเป็นวันกาแฟสากล สวิตเซอร์แลนด์ใช้วันที่ 28 กันยายน ศรีลังกาใช้วันที่ 1 ตุลาคม และอีกหลายประเทศอย่าง ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ ฮังการี มาเลเซีย นอร์เวย์ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน รวมถึงในประเทศไทย ได้ถือเอาวันที่ 29 กันยายน เป็นวันกาแฟสากล
กระทั่งในที่สุดเมื่อเดือน มีนาคม 2557 องค์กรกาแฟสากล
(International Coffee Organization) ก็ได้เห็นชอบที่จะเปิดตัวงานเฉลิมฉลองวันกาแฟสากลอย่างเป็นทางการขึ้นครั้ง
แรก ในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ในส่วนหนึ่งของงาน
Expo 2015 ที่มิลาน ประเทศอิตาลี โดยภายในวันกาแฟสากลนี้นอกจากจะเป็นวันพิเศษที่ให้เหล่าคอกาแฟได้มาร่วมฉลอง
การดื่มกาแฟกันอย่างสนุกสนานแล้ว วันกาแฟสากลยังจะถูกใช้เพื่อส่งเสริมการรับซื้อผลผลิตกาแฟในราคาที่เป็นธรรม
ตลอดจนช่วยปลุกจิตสำนึกให้ผู้คนได้ทราบถึงชะตากรรมของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
และในอีเว้นท์สุดพิเศษอย่างวันกาแฟสากลนี้ ธุรกิจกาแฟหลายแห่งทั่วโลกก็ไม่พลาดที่จะร่วมฉลองวันดังกล่าว ด้วยการมอบกาแฟฟรีหรือส่วนลดพิเศษให้แก่คอกาแฟทั้งหลาย บางร้านค้ายังยินดีมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้แก่ลูกค้าผู้น่ารัก ตลอดไปจนถึงการแจกอี-การ์ด หรือคูปองพิเศษให้อีกด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เว็บไซต์ internationalcoffeeday.org, happyespresso.net, เฟซบุ๊ก วันกาแฟสากล (International Coffee Day)
และในอีเว้นท์สุดพิเศษอย่างวันกาแฟสากลนี้ ธุรกิจกาแฟหลายแห่งทั่วโลกก็ไม่พลาดที่จะร่วมฉลองวันดังกล่าว ด้วยการมอบกาแฟฟรีหรือส่วนลดพิเศษให้แก่คอกาแฟทั้งหลาย บางร้านค้ายังยินดีมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้แก่ลูกค้าผู้น่ารัก ตลอดไปจนถึงการแจกอี-การ์ด หรือคูปองพิเศษให้อีกด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เว็บไซต์ internationalcoffeeday.org, happyespresso.net, เฟซบุ๊ก วันกาแฟสากล (International Coffee Day)
http://hilight.kapook.com/view/127076
Monday, September 28, 2015
ชมคลิปการร่อนวิงสูทเฉียดเขาที่ตื่นเต้นที่สุดในโลก หัวใจแทบหยุดเต้น !
เมื่อวันที่
24
กันยายน 2558 เว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษ เผยคลิปวิดีโอชวนตื่นเต้นระทึกใจของ
เกรแฮม ดิกคินสัน และดาริโอ ซานอน สองนักกีฬาเอ็กซ์ตรีมคู่หูที่ปฏิบัติการสุดท้าทาย
และเหมือนจะเป็นการท้าตายไปพร้อม ๆ กันด้วยซ้ำ เมื่อพวกเขาได้ร่อนวิงสูท
(ชุดปีก) บินถลาเฉียดหน้าผา ฝ่าช่องเขาและที่ว่างแคบ ๆ
ระหว่างดงต้นไม้ได้อย่างน่าทึ่ง คนธรรมดาทำไม่ได้เลยนะแบบนี้
รายงานระบุว่า เกรแฮม ดิกคินสัน และดาริโอ ซานอน ได้ปฏิบัติการสุดท้าทายนี้ที่เขาคาโมนิกซ์ มองต์บลังก์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส และได้บันทึกภาพปฏิบัติการนี้เอาไว้ทุกวินาที บังเกิดเป็นคลิปสุดตื่นเต้นที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลกในขณะนี้
ภาพจาก
lebuzz.eurosport.fr, Graham Dickinson สมาชิกเว็ไบซต์ยูทูบดอทคอม
http://hilight.kapook.com/view/127019
Sunday, September 27, 2015
เนียนเลย ภาพ 3 มิติบนผนังตึกในโปแลนด์ เหมือนจริงสุด ๆ
วันที่ 23 กันยายน 2558 เว็บไซต์ Bored Panda เผยภาพตึกมากมายตั้งขึ้นซับซ้อนเรียงรายกันอย่างสวยงดงามและโดดเด่น
แต่ใครจะเชื่อว่าแท้จริงแล้วภาพที่เห็นนี้จะเป็นเพียงแค่ประติมากรรมฝาผนังภาพวาด
3 มิติ ลวงตาได้เนียนจริง ๆ
ภาพวาดประติมากรรมฝาผนังนี้ถูกวาดขึ้นที่มุมตึกในเมืองพอซนาน ทางตะวันตกประเทศโปแลนด์ โดยออกแบบให้เป็นเรื่องราวในนิยายที่มีตัวการ์ตูนนั่งเป่าแตรอยู่บนหลังคา และมีแมวสีดำอยู่บนหลังคาชั้นบนสุด มองดูแล้วราวกับว่ามีตึกอีกหลาย ๆ ตึกซ้อนกันอยู่ด้านหลัง
แต่กว่าจะออกมาเป็นภาพวาดสวย ๆ มีรูปร่างได้เช่นนี้ เจอร์ราด คอฟต้า ผู้จัดตั้งต้องใช้เวลากว่า 3 ปีในการระดมเงินทุนจากชาวเมืองเพื่อทำให้โปรเจคท์นี้เกิดขึ้นมาได้ ทั้งนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเมื่อครั้งที่เมืองแห่งนี้ได้รับอิสรภาพ และกลายมาเป็นนครที่ปกครองโดยระบบเทศบาลของเมืองพอซนาน ตั้งแต่ปี 2343 จนถึงปัจจุบันนี้
http://hilight.kapook.com/view/126862
Thursday, September 24, 2015
Vredefort Crater หลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในโลก กินพื้นที่กว่า 300 กม. !!
ภาพจาก NASA
นับตั้งแต่ระบบสุริยะได้ถือกำเนิดมายาวนานกว่า
4,500
ล้านปี โลกรวมถึงดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะก็มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง
และตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ ก็มีวัตถุอวกาศแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยียนโลกนับไม่ถ้วน
วัตถุอวกาศหลายชิ้นเพียงแค่เคลื่อนตัวเฉียดโลกไป ขณะที่อีกหลายชิ้นก็พุ่งชนพื้นผิวโลก
จนฝากรอยแผลเอาไว้บนโลกมากมาย ในรูปแบบของ หลุมอุกกาบาต
แต่เคยสงสัยกันไหมว่า
เมื่อที่ผ่านมามีอุกกาบาตน้อยใหญ่มากมายตกมาบนพื้นโลก แล้วหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดจะมีขนาดใหญ่เพียงใดหนอ
วันนี้กระปุกดอทคอมขออาสาไขข้อข้องใจนี้ บอกเล่าเรื่องราวของหลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต
(Vredefort Crater) หลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมที่กว้างใหญ่สุด ๆ กว่า 300 กิโลเมตร !!!! ถูกต้องแล้วค่ะอ่านไม่ผิดแน่ ๆ
หลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาดถึง 300 กิโลเมตร
ครอบคลุมเนื้อที่หลายเมืองเลยล่ะ ว่าแล้วก็มาติดตามเรื่องราวน่าทึ่งนี้พร้อม ๆ
กันดีกว่า
หลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต (Vredefort Crater) คืออะไร ?
นัก ธรณีวิทยายืนยันว่า หลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต เป็นหลุมอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มันอยู่ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ใกล้ ๆ กับเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งที่ชื่อว่าเมืองวเรเดฟอร์ต และนั่นคือที่มาของชื่อหลุมอุกกาบาตแห่งนี้นั่นเอง
มันเกิดขึ้นได้อย่างไรนะ ?
หลุม อุกกาบาตแห่งนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 300 กิโลเมตร เกิดขึ้นหลังถูกอุกกาบาตซึ่งคาดว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 5-10 กิโลเมตรพุ่งชนพื้นโลกเมื่อราว 2.02 พันล้านปีก่อน ซึ่งอยู่ในช่วงยุคโพรเทอโรโซอิก ก่อนที่สิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่ายจะถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกด้วยซ้ำ
คาด การณ์กันว่าขนาดจริง ๆ ของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมแห่งนี้เมื่อครั้งที่มันเพิ่งตกลงมาบนโลกใหม่ ๆ น่าจะอยู่ที่ราว 300 กิโลเมตร แต่มีการทับถมของหน้าดินและมีการผุกร่อนไปบ้าง ขนาดหลุมจึงคงเหลือราว 250 กิโลเมตรในปัจจุบัน
ส่วนใจกลางหลุมอุกกาบาตมี ลักษณะคล้ายปากปล่องภูเขาไฟ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 70 กิโลเมตร สถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า วเรเดฟอร์ต โดม และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกด้วย
หลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต (Vredefort Crater) คืออะไร ?
นัก ธรณีวิทยายืนยันว่า หลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต เป็นหลุมอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มันอยู่ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ใกล้ ๆ กับเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งที่ชื่อว่าเมืองวเรเดฟอร์ต และนั่นคือที่มาของชื่อหลุมอุกกาบาตแห่งนี้นั่นเอง
มันเกิดขึ้นได้อย่างไรนะ ?
หลุม อุกกาบาตแห่งนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 300 กิโลเมตร เกิดขึ้นหลังถูกอุกกาบาตซึ่งคาดว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 5-10 กิโลเมตรพุ่งชนพื้นโลกเมื่อราว 2.02 พันล้านปีก่อน ซึ่งอยู่ในช่วงยุคโพรเทอโรโซอิก ก่อนที่สิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่ายจะถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกด้วยซ้ำ
คาด การณ์กันว่าขนาดจริง ๆ ของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมแห่งนี้เมื่อครั้งที่มันเพิ่งตกลงมาบนโลกใหม่ ๆ น่าจะอยู่ที่ราว 300 กิโลเมตร แต่มีการทับถมของหน้าดินและมีการผุกร่อนไปบ้าง ขนาดหลุมจึงคงเหลือราว 250 กิโลเมตรในปัจจุบัน
ส่วนใจกลางหลุมอุกกาบาตมี ลักษณะคล้ายปากปล่องภูเขาไฟ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 70 กิโลเมตร สถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า วเรเดฟอร์ต โดม และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกด้วย
ภาพจาก Wikipedia
การปะทะของอุกกาบาตกับพื้นโลก
นอกจากจะทำให้เกิดหลุมยักษ์แล้ว ความร้อนของมันยังหลอมละลายแผ่นเปลือกโลกจนเหลว และบังเกิดบ่อน้ำลาวาบนผิวโลกอีกด้วย
ภาพจาก Google Earth
ภาพจากดาวเทียมแสดงให้เห็นระยะเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต วงกลมสีแดงคือขนาดของหลุมทั้งหมดในอดีต
หลังจากนั้นบ่อลาวาได้ระเหยหายไปหมด หลงเหลือไว้เพียงแร่ธาตุ หินกรวด และหินแก้วที่มีชื่อว่า หินซูสโดทาซีไลต์ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบพลอยเพทาย ที่ถือกำเนิดในใจกลางหินแม็กม่า ขณะที่ทีมสำรวจกำลังเข้าศึกษาพื้นที่ ด้วยแร่ธาตุที่เหล่านักธรณีวิทยาเหล่านี้ค้นพบ ทำให้พวกเขาฟันธงว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นปล่องภูเขาไฟมาก่อนในอดีต
ภาพจาก Earth Impact Database
แต่แล้วเมื่อช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 หลักฐานทางธรณีวิทยาหลาย ๆ ชิ้นทำให้เหล่านักธรณีวิทยาต้องคิดทบทวนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการค้นพบเศษหินอุกกาบาตที่ก้นแม่น้ำวาล ใกล้ ๆ กับบริเวณวเรเดฟอร์ตโดมนั่นเอง และเมื่อสำรวจภาพถ่ายจากดาวเทียมแล้วก็ต้องตะลึง เมื่อพบว่าหลุมอุกกาบาตแห่งนี้กินพื้นที่ถึง 300 กิโลเมตร
แต่แล้วเมื่อช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 หลักฐานทางธรณีวิทยาหลาย ๆ ชิ้นทำให้เหล่านักธรณีวิทยาต้องคิดทบทวนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการค้นพบเศษหินอุกกาบาตที่ก้นแม่น้ำวาล ใกล้ ๆ กับบริเวณวเรเดฟอร์ตโดมนั่นเอง และเมื่อสำรวจภาพถ่ายจากดาวเทียมแล้วก็ต้องตะลึง เมื่อพบว่าหลุมอุกกาบาตแห่งนี้กินพื้นที่ถึง 300 กิโลเมตร
ภาพจาก Earth Impact Database
ด้วยหลักฐานทางธรณีวิทยาทั้งหมดนี้ ทำให้นักธรณีวิทยาฟันธงว่า หลุมอุกกาบาตวเรเดฟอร์ต
เป็นหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไร้ข้อกังขา
ภาพจาก Earth Impact Database
http://hilight.kapook.com/view/126825
Subscribe to:
Posts (Atom)