ภาพจาก NASA/JPL-Caltech/SwRI/MSSS/Betsy Asher Hall/Gervasio Robles
ภาพจากกล้องยานจูโน เผยภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจของดาวพฤหัสบดีในมุมมองที่น่าตื่นตา และแสดงให้เห็นข้อมูลน่าทึ่ง ซึ่งจะช่วยไขในการศึกษาข้อมูลดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงนี้
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 เว็บไซต์ข่าวสารแวดวงวิทยาศาสตร์ ซานตาโมนิก้าออบเซิร์ฟเวอร์ รายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ นาซา (NASA) ได้เปิดเผยภาพถ่ายชุดใหม่ของดาวพฤหัส ซึ่งเป็นภาพที่ใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป็นมุมมองใหม่ที่ทั้งน่าตื่นตาตื่นใจและเปิดเผยถึงข้อมูลใหม่ ๆ อันน่าสนใจของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงนี้ ชนิดที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน
ภาพถ่ายอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ถูกถ่ายจากกล้องของยานจูโน
ที่โคจรอยู่รอบดาวพฤหัสบดี มันแสดงให้พื้นที่บริเวณขั้วโลกใต้ของดาวพฤหัสที่เต็มไปกลุ่มพายุหมุน
ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ราว 1,000 กิโลเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่มหึมาเท่ากับโลก
โดยพายุแต่ละลูกก่อตัวเบียดกันอยู่อย่างหนาแน่น แทบจะชนกัน นำไปสู้ข้อสงสัยของนักวิทยาศาสตร์ว่า
พายุเหล่านี้ก่อตัวขึ้นได้อย่างไร และมีโครงสร้างมั่นคงถาวรแค่ไหน
สำหรับยานจูโนถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 หลังจากใช้ระยะเวลาในการเดินทางเกือบ 5
ปี ก็สามารถไปถึงวงโคจรดาวพฤหัสบดีได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 4
มิถุนายน 2559 และในวันที่ 27 สิงหาคม ปีเดียวกัน ยานจูโนก็สามารถบินเข้าไปอยู่เหนือกลุ่มมฆชั้นบนของดาวในระดับ
4,200 กิโลเมตร เพื่อเก็บข้อมูลชุดแรงส่งกลับมายังโลก ซึ่งข้อมูลชุดแรกเพิ่งจะได้รับการเผยแพร่ผ่านรายงานทางวิชาการ
2 ฉบับในวารสาร Science รวมถึงรายงานอีก
44 ฉบับในวารสาร Geophysical Research Letters
หลังจากการเก็บข้อมูลชุดแรกได้สำเร็จ ยานจูโนก็ยังโคจรอยู่รอบดาวพฤหัสบดีเพื่อเก็บรวบรวมภาพถ่าย โดยจะสามารถเข้าใกล้ได้มากที่สุดในทุก ๆ 53 วันของรอบโคจร
หลังจากการเก็บข้อมูลชุดแรกได้สำเร็จ ยานจูโนก็ยังโคจรอยู่รอบดาวพฤหัสบดีเพื่อเก็บรวบรวมภาพถ่าย โดยจะสามารถเข้าใกล้ได้มากที่สุดในทุก ๆ 53 วันของรอบโคจร
"เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เผยผลการค้นพบครั้งใหม่ส่าสุดนี้
ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจดาวพฤหัสบดีได้มากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะเดินทางไปถึง
แต่ผลลัพธ์แรกที่เราได้ มันก็แสดงให้เห็นว่ามันเป็นการเดินทางที่คุ้มค่ามากแค่ไหน"
ไดแอนน์
บราวน์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการภารกิจยานจูโน
กล่าวถึงการค้นพบที่น่าประทับใจครั้งนี้
อีกการค้นพบที่น่าประหลาดใจคือ เครื่องวัดรังสีในช่วงคลื่นไมโครเวฟ (MWR - Microwave Radiometer) ของยานจูโนได้ตรวจพบว่า ใต้กลุ่มเมฆที่ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี มีก๊าซแอมโมเนียจำนวนมากปกคลุมอยู่โดยรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น คาดว่ามีความหนามากถึง 350 กิโลเมตร และบริเวณอาจจะเป็นระบบหมุนเวียนอากาศหลัก ๆ ของดาวพฤหัสบดีก็เป็นได้
ข้อมูลจาก nasa, bbc
อีกการค้นพบที่น่าประหลาดใจคือ เครื่องวัดรังสีในช่วงคลื่นไมโครเวฟ (MWR - Microwave Radiometer) ของยานจูโนได้ตรวจพบว่า ใต้กลุ่มเมฆที่ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี มีก๊าซแอมโมเนียจำนวนมากปกคลุมอยู่โดยรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น คาดว่ามีความหนามากถึง 350 กิโลเมตร และบริเวณอาจจะเป็นระบบหมุนเวียนอากาศหลัก ๆ ของดาวพฤหัสบดีก็เป็นได้
ข้อมูลจาก nasa, bbc
https://hilight.kapook.com/view/154208